วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ฐานทรัพยากรไทยในโลกาภิวัตน์

จักรกฤษณ์ ควรพจน์



เสน่ห์ จามริก ได้กล่าวกับผมว่า กระแสโลกาภิวัตน์จะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อการดำรงคงอยู่ของฐานทรัพยากรของไทย

และขอให้ผมช่วยทำโครงการวิจัยโครงการหนึ่งเพื่อพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับโลกาภิวัตน์และฐานทรัพยากรเพื่อจะรักษาฐานทรัพยากรของประเทศให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป

ฐานทรัพยากรเขตร้อน (Tropical resources base) มีความหมายกว้างกว่าคำว่า ทรัพยากรธรรมชาติ

เพราะแสดงถึงความสำคัญเชิงคุณค่าของทรัพยากรที่มิได้มองแยกย่อยไปในรายทรัพยากร

หากแต่หมายถึงการดำรงอยู่ร่วมกันของทรัพยากรธรรมชาติทุกประเภท

และรวมถึงสิ่งแวดล้อมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ฐานทรัพยากรมิได้มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจเท่านั้น

หากแต่เป็นปัจจัยการดำรงชีวิตของมนุษย์ในฐานะที่เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค

ตลอดจนมีความสำคัญในเชิงวัฒนธรรมต่อวิถีชีวิตของผู้คนและชุมชนท้องถิ่น




โลกาภิวัตน์นั้นมีหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบก็มีผลกระทบต่อฐานทรัพยากรแตกต่างกันไป

โลกาภิวัตน์ด้านการวิจัยเทคโนโลยีกับผลกระทบต่อการเกษตรของไทยก็เป็นตัวอย่างที่ดีกรณีหนึ่ง

เกษตรกรรมมีความสำคัญยิ่งต่อไทย เป็นทั้งแหล่งอาหารและสินค้าส่งออกที่นำรายได้มาสู่ประเทศ

เกษตรกรไทยได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นพัฒนาความรู้ด้านการเกษตรมาโดยตลอด

ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์

จากพันธุ์ธรรมชาติให้เป็นพันธุ์พื้นเมืองหรือความรู้ในระบบการเกษตรขนาดเล็กแบบผสมผสาน

ที่ช่วยดำรงความหลากหลายทางชีวภาพให้คงอยู่

ประเทศตะวันตกเล็งเห็นความสำคัญและต้องการสร้างฐานอุตสาหกรรมการเกษตรของตน

ประเทศเหล่านั้นได้พัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่

การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจะทำโดยบริษัทเอกชนเป็นส่วนใหญ่ รูปแบบและวิธีการวิจัยก็แตกต่างจากเทคโนโลยีพื้นบ้าน

จากเดิมที่การปรับปรุงพันธุ์สัตว์กระทำกันโดยอาศัยพลังธรรมชาติ การวิจัยและพัฒนาแนวใหม่ได้มุ่งไปสู่เทคโนโลยีชีวภาพ

มีการใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้มีลักษณะตามที่ต้องการ

การวิจัยและพัฒนาแนวใหมได้มุ่งไปสู่เทคโนโลยีชีวภาพ

มีการใช้เทคนิคการดัดแปลงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเพื่อให้มีลักษณะตามที่ต้องการ การวิจัยปรับปรุงพันธุ์จะมีเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ

เช่น มุ่งในการพัฒนาลูกผสมของพืชที่เป็นที่ต้องการของตลาดสองชนิด คือ ถั่วเหลืองและข้าวสาลี



การวิจัยแนวใหม่มิได้ช่วยเพิ่มจำนวนพันธุ์พืชที่เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรรม หากแต่เน้นการเกษตรเชิงเดี่ยว ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกรก็มักกำกับด้วยข้อตกลงผูกมัดหลายประการ เช่น มีข้อห้ามแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ ข้อห้ามใช้ผลิตผลเป็นเมล็ดพันธุ์ ข้อจำกัดการส่งออก ฯลฯ



ผู้ได้ประโยชน์ คือเกษตรกรรายใหญ่และบริษัทเมล็ดพันธุ์

ส่วนเกษตรกรรายย่อยจะถูกเปลี่ยนฐานะเป็นผู้รับจ้างผลิตของบริษัทขนาดใหญ่เท่านั้น

ในประเทศที่พัฒนาแล้ว บริษัทเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ต่างแข่งขันกันทำวิจัย เมื่อประสบความสำเร็จเทคโนโลยีเหล่านั้นก็จะถูกจดสิทธิบัตร

โดยอ้างว่ากำไรที่ได้จะถูกใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนาต่อไป

ทั้งที่ผลการวิจัยจำนวนมากมิได้เป็นการปรับปรุงลักษณะพันธุกรรมพืชหรือสัตว์ที่เป็นประโยชน์

หากแต่ทำไปเพื่อสนองต่อการตลาดของบริษัท ด้วยการทำให้เกิดความแตกต่างของผลิตภัณฑ์เท่านั้น

สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัทเหล่านี้ถือครอง ได้ปิดกั้นการทำวิจัยของบริษัทอื่น

หรือถูกใช้เป็นเครื่องกีดกันกันเองระหว่างบริษัทเจ้าของ เช่น ขณะนี้มีสิทธิบัตรในเทคโนโลยีบีที

สำหรับการสร้างพืชดัดแปลงพันธุกรรมเป็นจำนวนกว่าหนึ่งร้องสิทธิบัตร โดยทั้งหมดเป็นสิทธิบัตของบริษัทขนาดใหญ่เพียง 4 บริษัท

แน่นอนว่าโอกาสที่บริษัทขนาดเล็กหรือนักวิจัยรายย่อยจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ย่อมมีน้อยยิ่ง

นอกจากอาศัยสิทธิบัตรทางกฎหมาย บริษัทเทคโนโลยีเหล่านี้ยังใช้กลวิธีการตลาดอย่างอื่นเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง

ไม่ว่าจะเป็น การทำสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิไขว้กัน (Cross licensing) และการร่วมแชร์สิทธิบัตร (Patent pooling)

การควบคุมกิจการก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่บริษัทเมล็ดพันธุ์ใช้เพื่อแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี

สร้างอำนาจตลาดและเพื่อเลี่ยงการแข่งขันกันเองโดยไม่จำเป็น

แต่วิธีการเหล่านี้ก็มีผลกระทบต่อการแข่งขัน จำกัดโอกาสเข้าสู่ตลาดของบริษัทขนาดเล็ก สภาพการแข่งขันที่ลดลง

และการเพิ่มขึ้นของอำนาจผูกขาดบริษัทขนาดใหญ่เป็นที่ประจักษ์ในอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ์ในระหว่างปี 2523-2532

เทคโนโลยีบีทีกว่า 50% ถูกถือครองโดยมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยในสหรัฐ


ในปี 2537 สิทธิบัตรเหล่านี้ได้ถูกโอนขายให้แก่บริษัทเอกชน เหลือที่ถือครองโดยมหาวิทยาลัยและสถาบันของรัฐเพียง 23% และอีก 5

ปีต่อมาสิทธิบัตรในเทคโนโลยีบีทีทั้งหมดก็ถูกครอบครองโดยบริษัทเพียง 4 บริษัท

เป็นบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งได้รวบรวมสิทธิบัตรมาด้วยการซื้อสิทธิ

ด้วยการซื้อกิจการของบริษัทขนาดเล็กและด้วยการควบรวมกันเองระหว่างบริษัทขนาดใหญ่ด้วยกัน เช่น

การควบรวมกิจการระหว่างสองบริษัทเมล็ดพันธุ์ยักษ์ใหญ่ AstraZeneca และ Novartis กลายเป็นบริษัท Syngenta

มีผลให้บริษัทเกิดใหม่กลายเป็นผู้ถือครองเทคโนโลยีบีทีกว่า 60%

ในประเทศกำลังพัฒนาที่มีตลาดเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ เช่น บราซิล เม็กซิโก

มีหลักฐานแสดงถึงการเพิ่มขึ้นของการควบรวมกิจการของบริษัทเมล็ดพันธุ์

โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศเหล่านั้นอนุญาตให้มีการเพาะปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมในเชิงพาณิชย์และหลังจากที่ประเทศเหล่านั้นได้บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช

เช่น ปี 2542 มอนซานโต้สามารถขยายส่วนแบ่งตลาดเมล็ดพันธุ์ในบราซิลจาก 15% เป็น 60% แต่ในทางกลับกัน

ส่วนแบ่งตลาดของบริษัทท้องถิ่นกลับลดลงเหลือเพียง 5%

การลดลงของการแข่งขันและการกระจุกตัวของเทคโนโลยีการเกษตร นับเป็นอันตรายต่อความมั่นคงทางอาหาร ต่อเกษตรกรรม

และต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร การปกป้องฐานทรัพยากรด้านการเกษตรของไทย จำเป็นต้องอาศัยนโยบายที่เหมาะสม

ไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในสิ่งมีชีวิต การวิจัยเทคโนโลยี

การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ระหว่างเกษตรกร

และนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อการเพาะปลูกในฤดูกาลถัดไป

ไทยจะต้องส่งเสริมการวิจัยของสถาบันภาครัฐ เพื่อสร้างเมล็ดพันธุ์ที่เหมาะสมกับระบบการเกษตร

เพื่อลดการพึ่งพาบริษัทต่างชาติและทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมการแข่งขันและป้องกันการผูกขาดของบริษัท

โดยใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าเป็นเครื่องมือ






ขอคำแนะนำด้วยค่ะ/ครับ

พิ้นหลัง