วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

อุดมศึกษาในยุคโลกกาภิวัฒน์

กระแสของอุดมศึกษาของโลก ปัจจุบันกระแสของการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตกอยู่ภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์ (Globalization) ซึ่งจะตั้งใจรับหรือไม่ตั้งใจรับมันก็จะมาเองโดยไม่ต้องเชิญ กระแสนั้นแบ่ง ๖ กระแสหลักได้แก่
๑. กระแสของเพื่อคนส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า Massification หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Universilization ที่ถือว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาควรจะต้องจัดเพื่อให้คนส่วนใหญ่ของสังคม หมายความว่าทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน หรือจัดให้กับคนส่วนใหญ่ของประเทศ เป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่จะได้รับ เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องจัดให้ ในลักษณะอย่างนี้เราจะเห็นแนวโน้มการศึกษาระดับอุดมศึกษาอย่างในสหรัฐอเมริกา ในญี่ปุ่น ยุโรปนั้น ของเขาอาจเรียกได้ว่าก้าวสู่ Mass Education แล้ว นั่นคือคนของเขาที่จบชั้นมัธยมศึกษาได้รับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ๘๐ – ๙๐ % ซึ่งในสังคมไทยเราจะเห็นมหาวิทยาเปิดมากขึ้น มีหลากหลายรูปแบบมากขึ้น อย่างตามมหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏ เปิดโครงการพิเศษขึ้น รวมทั้งมหาวิทยาลัยสงฆ์ มี Campus มากขึ้นและเปิดโครงการพิเศษกันมากขึ้น
๒. กระแสของความเป็น Privatization หรือบางทีเรียกว่า Corporatization หรือ Corporate และที่เราได้ยินกันเสมอก็คือ Autonomous University นั่นเอง นั้นก็คือการที่จะพยายามจะจัดการและดูแล และดำเนินการให้การศึกษาระดับอุดมศึกษามีลักษณะที่ดี ดำเนินการในรูปแบบของเอกชน ในรูปแบบของคณะกรรมการ ในรูปแบบที่ให้มหาวิทยาลัยมีความเป็นอิสระ มีความคล่องตัวในการจัดการบริหาร ไม่เป็นระบบราชการ แนวคิดอันนี้มีความหลากหลาย เราจะเห็นได้ชัดเจนว่าแบบอย่างอันนี้นั้นที่จริงแล้วเป็นแบบอย่างที่มาจากสหรัฐอเมริกา ระบบของอเมริกานั้นถือว่าการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นธุรกิจ มีการบริหารในรูปของคณะกรรมการ จากกระแสแนวคิดนี้แบ่งออกเป็น ๓ วิธีย่อย คือ
๒.๑ เป็นลักษณะเอกชนเต็มตัว มีการจัดการบริหารแบบมหาวิทยาลัยเอกชน หาเงินแบบเอกชน นักศึกษาต้องจ่ายแพงขึ้น เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่จะต้องหาเงินมาสำหรับใช้จ่ายเองโดยตรงรัฐจะเข้าไปเกี่ยวข้องน้อยมาก นี้เรียกว่าการบริหารจัดการเป็นแบบเอกชนเต็มรูปแบบ
๒.๒ เป็นลักษณะการบริหารมีความเป็นอิสระ โดยมีคณะกรรมการดูแล ที่เรียกว่า Corporate ก็คือคณะกรรมการดูแล แต่ด้านการเงินหรืองบประมาณยังเป็นของรัฐอยู่เป็นส่วนใหญ่ รัฐบาลเองยังให้เงินมาแต่ให้เงินมาค่อนข้างอิสระและรัฐมีมาตรการมาดูแล โดยให้มีคณะกรรมการมาดูแลการเงินนั้น รูปแบบนี้หลายส่วนยังค่อนข้างเป็นราชการ
๒.๓ เป็นลักษณะ Autonomous University มหาวิทยาลัยค่อนข้างเป็นอิสระ นั่น คือให้มหาวิทยาลัยมีสิทธิที่จะตัดสินใจดำเนินการดูแลภายใต้จุดมุ่งหมาย กระบวนการ วิธีการของมหาวิทยาลัยเอง แต่รัฐยังให้เงินดูแลในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายหลัก ๆ และมหาวิทยาลัยเองก็มิสิทธิที่จะหาเงินเข้ามาสมทบได้ การบริหารจะไม่ใช่แบบปกติ หากเป็นการบริหารภายใต้กรอบของมหาวิทยาลัย รัฐจะดูแลเงินในระดับหนึ่งที่เป็นพื้นฐาน

๓. กระแสของความเป็น Marketization คือทำให้มหาวิทยาลัยเป็นระบบการตลาด เป็น Competition มีการแข่งขัน และเป็นระบบ Consumerlization คือการจัดการบริหารสนองประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังเดินและปรับทิศทางให้สอดคล้องกับควมต้องการของตลาดเป็นหลักสำคัญ นั่นคือในสาขาวิชาที่เปิดสอนต้องเป็นสาขาวิชาที่ตลาดต้องการ ในแต่ละหลักสูตรต้องจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับตลาดต้องการ และบัณฑิตที่จบออกไป ต้องพยายามปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ตลาดต้องการ ตลาดต่อตลาดก็มีการแข่งขันกัน ให้มหาวิทยาลัยเป็นสินค้าอย่างหนึ่ง
๔. กระแสของความมาตรฐาน Standardization คือเมื่อมีการแข่งขันเต็มที่แล้ว พอไปถึงระดับหนึ่งก็จะมีการประกาศลดราคา มีการลดแลกแจกแถม เพื่อแย่งลูกค้ากัน การลดราคาทางการศึกษา หมายถึงการลดคุณภาพลง มาเรียนกับฉันจบแน่ ตามที่พูดกันเสมอว่า “จ่ายครบต้องจบแน่” ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เราจะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีการโฆษณากันอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่แตกต่างอะไรกับห้างสรรพสินค้า ด้วยเหตุนั้นก็จะเกิดกระแสที่เราเรียกว่า Standardization หรือกระแสของคุณภาพ Quality กระแส Excellent นั่นคือ ทั่วโลกให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพ เรื่องมาตรฐาน เรื่องความเป็นเลิศ ของการอุดมศึกษา การประกันคุณภาพการศึกษาจึงมีอยู่ทั่วโลก
๕. กระแสของ Globalization หรือ Internetionlization หรือไม่ก็เรียกว่า Virtualization ทั้งสาม คือ Globalization หรือ Internetionlization หรือ Virtualizationและเรียกอีกว่า Networking ทั้งสามคำนี้เป็นระบบของโลกาภิวัตน์ เป็นระบบนานาชาติ ระบบเครือข่ายของ Globalization คือทำให้โลกทั้งโลกเป็นโลกใบเดียวกัน คือการศึกษาจะต้องสื่อสารถึงกันทั่วโลก เดิมเป็น Internationlization. ความแตกต่างอยู่ที่ว่าเป็น Inter. Internationlization. หมายความว่า Nation ต่อ Nation ยังมีอยู่ แล้วก็มามี Inter มาเกี่ยวข้อง แต่ขณะนี้มันไม่มี Nation เพราะมันกลายเป็น Global มันสามารถสื่อสารถึงกันได้ แต่ก่อนเวลาติดต่อผ่านต้องติดต่อผ่านประเทศแต่ละประเทศเข้ามาก่อน ขณะนี้คนแต่ละประเทศไม่ต้องติดต่อผ่านแล้วสามารถโยงถึงกันได้เลย Globalization เริ่มเมื่อไร แนวคิด Globalization จริง ๆ เริ่มเมื่อกำแพงเบอร์ลินถูกพังลง เพราะเดิมมันผ่านกำแพงไม่ได้ เหตุเพราะความเป็นชาติคอมมิวนิสต์อยู่ พอค่ายคอมมิวนิสต์พังลงมาเท่านั้นสื่อสารทั้งหมด ความเป็น Globalization เกิดขึ้นมาอย่างชัดเจน ต่อไปมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะจัดการในเรื่องของหลักสูตร การเรียนการสอน อาจารย์ อาจเรียนและสอนร่วมกัน ทำงานร่วมกัน เพราะความเป็น Globalization ไม่มีขั้นตอนของความรู้ คณาจารย์และนักศึกษามีการแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างหลากหลายและรวดเร็ว ตรงนี้เองที่ทำให้การศึกษาเปลี่ยนแปลง เพราะความรู้มันไปรวดเร็วเหลือเกิน๖. กระแสของ Technologilization หรือกระแสของ Technology และกระแสของ Technologilization และจะเป็นกระแสที่มีความสำคัญมาก เพราะความเติบโตของ Technology นี้เองที่ทำให้กระแสของนานาชาติเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ความเป็น IT ,ICT, Information และ Communication Technology ทำให้ Massification มันกว้างขวางออกไป เรียนทางทีวี เรียนทางวิทยุ ทาง Electronic หรือที่เรียกว่า E – Learning ทำให้ระบบการจัดการสมัยใหม่เข้ามาได้ มันทำให้ระบบตลาดเป็นไปอย่างกว้างขวาง ทำให้นานาชาติเกิดขึ้น IT มีทั้งของมันเองที่มันกลายเป็น Virtual University กลายเป็นมหาวิทยาลัยเสมือน Virtual Library ห้องสมุดเสมือน Virtual Classroom ห้องเรียนเสมือน
กระแสต่าง ๆ เหล่านี้กำลังเกิดขึ้นในการศึกษาระดับอุดมศึกษาภายใต้กระแสของโลกาภิวัตน์ (Globalization) และกระจายไปยังประเทศต่าง ๆ มากขึ้นแต่ละประเทศก็จะมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แต่ละประเทศคงหลบเลี่ยงระบบนี้ไปไม่ได้
ขณะนี้มหาวิทยาลัยในประเทศไทย มีการประกาศข่าวทางการศึกษา รับสมัครทางอินเตอร์เน็ต ค้นคว้าหาความรู้ทางอินเตอร์เน็ต งานวิจัย วิทยานิพนธ์ลงในอินเตอร์เน็ต และ Web site สถานศึกษา ครูอาจารย์ และเด็กนักเรียนตั้งแต่ระดับประถม มัธยมเขาหาข้อมูลทำรายงานทาง Internet กันทั้งนั้น
แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่มั่นใจว่ามหาวิทยาลัยในประเทศไทยกำลังเดินตามกระแสใดในจำนวน ๖ กระแสหลักของมหาวิทยาลัยทั่วโลกนั้น แต่เกรงว่าอ้างความเป็น Massification หรือที่เรียกอีกอย่างว่า Universilization อ้างเพื่อคนส่วนใหญ่ของสังคม โดยต้องการจะเป็น Privatization หรือเรียกว่า Corporatization หรือ Corporate และนั่นก็คือ Autonomous University นั่นเอง แต่มีเป้าหมายจะเดินไปสู่ความเป็น Marketization คือทำให้มหาวิทยาลัยเป็นระบบการตลาด เป็น Competition มีการแข่งขันกันในเชิงการตลาด เป็นการศึกษาที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นโลภะให้กระเพื่อมมากขึ้น นั่นหมายถึงการศึกษาที่ผลิตนักบริโภคนิยม และเป็นระบบ Consumerlization คือการจัดการบริหารสนองประโยชน์ของลูกค้ากลุ่มทุนนิยมเป็นสำคัญ ซึ่งขณะนี้มหาวิทยาลัยทั่วโลกกำลังเดินและปรับทิศทางให้สอดคล้องกับควมต้องการของตลาดแบบสังคมบริโภคนิยมอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่อิสระภาพที่ไม่มีคุณภาพ
มีกรณีตัวอย่างให้เห็น อย่างการกระจายอำนาจออกสู่ท้องถิ่น มีองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น เจตนาเพื่อให้มีการกระจายบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้การจัดการบริหารโดยคนในท้องถิ่น เพื่อคนในท้องถิ่นได้คิด ได้ทำอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ท้องถิ่นของเขา มีความรักหวงแหนในวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น จะได้จัดการบริหารโดยคนในท้องถิ่นอย่างอิสระ แต่ประเด็นที่ควรระวัง วิธีคิดของคนในองค์กรบริหารส่วนท้องถิ่น กลับไม่มีความเป็นอิสระ ความคิดยังถูกจำจองพันธนาการด้วยโซ่ตรวนร้อยรัดทางจิตวิญญาณ มีความเป็นไปแบบระบบราชการในฐานะความช้าในการตัดสินใจ หลายขั้นตอน วิธีคิดที่สวามิภักดิ์ต่อส่วนกลาง อยากให้เป็นแบบส่วนกลาง อยากเป็นระบบราชการ แล้วอยากกระจายการบริหารงานออกไปทำไม น่าสนใจ ประเภทตัวเป็นไทแต่ใจเป็นทาส ด้านการเมืองไทยมีปัญหาความมั่นคงของคณะรัฐบาล มีการอภิปรายกันไปกันมา นักการเมืองย้ายพรรคง่าย ขายตัวคล่อง นักลงทุนทั้งต่างชาติและในชาติเดียวกันขาดความมั่นใจในความไม่แน่นอนของคณะรัฐบาล ไม่แน่นอนในนโยบายของรัฐที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ต่อมามีการออกพระราชบัญญัติเพื่อให้นักการเมืองย้ายพรรคยากขึ้น ให้คณะรัฐบาลมีความมั่นคง อภิปรายซักฟอกรัฐมนตรียากขึ้น โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี ในที่สุดก็เกิดปัญหาใหม่ ที่สืบเนื่องจากความมั่นคงของรัฐบาล เพราะไม่ได้มั่นด้วยการทำความดี ความถูกต้อง แต่กลับร่วมหัวกันทั้งคณะรัฐบาลโกงบ้านโกงเมือง ทำให้บ้านเมืองกลายเป็นบริษัทที่คณะบุคคลเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ ชาติล่มจมแต่คณะบุคคลรวยขึ้น “ประเทศชาติยากจน ประชาชนเป็นหนี้ ที่รวยอยู่ไม่เพียงกี่ตระกูล” และทำให้อาจารย์ที่เก่ง ๆ นักกฎหมายที่เก่ง ๆ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และรวมทั้งนักการเมืองที่ดีตลอดทั้งผู้บริหารที่ดีพลอยเสียผู้เสียคนมากต่อมาก เพราะได้ผู้นำประเทศที่มีจิตใจขาดศีลธรรมเข้ามาบริหาร ให้เกิดเป็นความมั่นคงคู่กับความไม่ดี กว่าจะกำจัดออกไปได้เมืองไทยต้องกลับย้อนยุคไปใช้กระบอกปืนอีกครั้ง จึงเกิดเหตุการณ์ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ขึ้น นี้เป็นประวัติศาสตร์อีกย่อหน้าหนึ่งของสังคม
ที่ยกมากล่าวเพื่อให้เห็นว่าความมีอิสระภาพโดยระบบ แต่ได้คนที่ไม่มีคุณภาพไปใช้ในระบบนั้นมันเสี่ยงภัยมาก ความคล่องตัวในทางที่ไม่ดี เหมือนเรื่องที่กำลังพูดถึงกัน คือมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ หรือให้เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยเจตนาก็เพื่อต้องการให้เกิดความคล่องตัวในการจัดการบริหาร รัฐจะโยนงบประมาณให้เป็นก้อน แล้วไปจัดการบริหารกันเอง โดยรูปแบบของคณะกรรมการ และนอกนั้นไปหางบประมาณเพิ่มเติมเอง ตามแต่คณะกรรมการ หรือตามความรู้ความสามารถของคณะกรรมการ พูดตรง ๆ หลายฝ่ายไม่มั่นใจในศักยภาพของผู้บริหารมหาวิทยาลัย ในคณะกรรมการของมหาวิทยาลัย เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่ามีอิสระบนฐานคิดอย่างไร อิสระไปสู่ทิศทางใด เพราะขณะนี้คนในมหาวิทยาลัยคาดว่าจำนวนมากถูกครอบงำโดยค่านิยมแบบสังคมบริโภคนิยม มีแนวคิดเชิงธุรกิจทางการศึกษา มองความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ละเลยความคุ้มทุนทางสังคม เมื่อเป็นเช่นนี้หากให้ความอิสระแบบปล่อยเสือเข้าป่า เมื่อหิวมาสิ่งที่เสือจะกินก็คือสิ่งอยู่ใกล้ตัวมัน หมาอยู่ใกล้กินหมา วัวอยู่ใกล้กินวัว หากเป็นคณะกรรมการประเภทเสือหิว อะไรที่อยู่ใกล้ก็คือนักศึกษาขึ้นค่าเล่าเรียน เดือดร้อนผู้ปกครอง คนยากจนจะโดนตัดสิทธิ์โดยระบบ โดยกระบวนการ แน่นอนอาจบอกว่าทุกคนยังมีสิทธิเรียนได้ แต่โอกาสที่จะใช้สิทธิ์สิแตกต่าง

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ/ครับ

พิ้นหลัง