วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2551

โลกาภิวัฒน์ กับ แนวทางการดำเนินนโบายการเงินอนาคต

การดำเนินชีวิตในโลกปัจจุบันนี้ไม่ได้เรียบง่ายเช่นในอดีต แต่กลับต้องดำเนินชีวิตภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ที่นับวันยิ่งเชี่ยวกราดมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ทุกอย่างรอบตัวกำลังรวมเป็นตลาดเดียว คือ ตลาดโลก นั่นหมายความว่า ราคาสินค้า และบริการถูกกำหนดโดยตลาดโลก ทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการย่างเข้าสู่เศรษฐกิจแบบตลาดของ ประเทศจีน อินเดีย และยุโรปตะวันออก การปฏิวัติทางเทคโนโลยี และการสื่อสาร ต้นทุนการคมนาคมขนส่งที่ลดลงต่ำเป็นอย่างมาก ด้วยปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นแรงผลักดันให้เกิดการแบ่งงานกันทำมากขึ้น หรือเราสามารถอธิบายโลกาภิวัฒน์ในมุมมองของธุรกิจเข้ากับมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ได้ว่า โลกาภิวัฒน์ คือ ช็อคที่เกิดขึ้นกับ ราคาสัมพัทธ์ โดยระดับราคาทั่วไปขึ้นกับราคาสินค้า และบริการที่ผลิตได้ในประเทศ โดยแนวโน้มของ ราคาเป็นดังนี้

ราคาของ Tradable Goods (สินค้าที่มีการทดแทนกันอย่างเกือบสมบูรณ์โดยสินค้านำเข้า หรือราคาถูกกำหนดจากภายนอกประเทศ) มีแนวโน้มลดลง
ราคาของ Non-tradable Goods (สินค้าที่ไม่มีการทดแทนกัน หรือราคาถูกกำหนดจาก ภายในประเทศ) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ต่ออัตราเงินเฟ้อสรุปได้ ดังนี้
(๑.) การเปลี่ยนแปลงของอัตราการค้า (ราคาของสินค้าออกต่อราคาสินค้าเข้า)
โลกาภิวัฒน์ได้เปลี่ยนแปลงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับเงินเฟ้อ อันเนื่องมาจากการตีตลาดสินค้าราคาถูกจากเอเชีย นั่นคือ ช็อคของอุปทานทางบวก (การเพิ่มขึ้นของอุปทานทุกระดับราคา) ดังนั้นการลดลงของราคาสินค้านำเข้าทำให้ค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้น หรืออำนาจซื้อเพิ่มขึ้นโดยที่ไม่มีต้นทุนเกิดขึ้น
ผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงิน
ในทางปฏิบัติ ก่อให้เกิดผลดีต่อการดำเนินนโยบายการเงินที่เรียกว่า “Tailwind” นั่นคือ ธนาคารกลางสามารถใช้นโยบายการเงินกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่าปกติ หรือกล่าวได้ว่าลดอัตราเงินเฟ้อโดยที่ไม่จำเป็นต้้องมีการชะลอตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ จากการศึกษาเชิงประจักษ์ของ London School of Economics ผลดีที่เกิดขึ้นนี้เกิดนี้เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เพราะว่าแรงงานอาจจะสร้างรูปแบบ การคาดการณ์จากคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากผลได้ของอัตราการค้า ดังนั้นการดำเนินนโยบายนี้ใช้ได้เพียงชั่วคราว
(๒.) การเปลี่ยนแปลงของพลวัตระยะสั้นของกระบวนการเงินเฟ้อ
โลกาภิวัฒน์ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเงินเฟ้อ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจในระยะสั้น (Short-run tradeoff) มีความสัมพันธ์ในลักษณะลาดมากขึ้น หรือชันน้อยลง จากการศึกษาเชิงประจักษ์ที่ได้จากหลายประเทศทั่วโลก พบว่า
ทศวรรษที่ ๗๐ ความสัมพันธ์มีลักษณะแนวดิ่ง คือ ไม่ว่าจะพยายามที่จะรักษาอัตราการว่างงานให้ต่ำกว่าอัตราการว่างงานธรรมชาติแล้วก็ตามส่งผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ
ทศวรรษที่ ๘๐ ความสัมพันธ์มีลักษณะชันลาดลง คือ เงินเฟ้อที่ระดับต่ำจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อภาวะเศรษฐกิจมีการว่างงานมากขึ้น
ทศวรรษที่ ๙๐ ความสัมพันธ์มีลักษณะลาดจนเกือบเป็นเส้นตรงแนวนอน คือ สามารถทำให้เงินเฟ้อต่ำลงในขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ชะงัก
ในทางทฤษฎีแล้วสามารถอธิบายได้ว่า ผลที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึง การจัดการทางด้านอุปสงค์ที่ดีมาก โดยทำให้ระดับการว่างงานอยู่ต่ำกว่าระดับธรรมชาติ
ข้อสังเกต กระบวนการของเงินเฟ้อมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อันมีสาเหตุดังต่อไปนี้

(๑.) การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายการเงินของธนาคารกลาง โดยหันมาใช้นโยบายเงินเฟ้อเป้าหมายซึ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในระบบเศรษฐกิจทั่วโลก นโยบายเงินเฟ้อเป้าหมายนี้ทำให้การคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ในกรอบต่างจากในอดีต คือ การว่างงานลดลงอาจนำไปสู่การคาดการณ์ เงินเฟ้อที่สูงขึ้น
(๒.) ความถี่ในการปรับราคาเพิ่มขึ้นลดลงเพื่อให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลาง ดังนั้นแม้ว่าเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ถ้าค่าเฉลี่ยอยู่ในกรอบที่กำหนดจึงไม่จำเป็นต้องปรับราคาเพิ่มขึ้น
ดังนั้น ในระยะสั้น การเพิ่มขึ้นของอุปสงค์จะไม่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของระดับราคา ความสัมพันธ์จะลาดมากขึ้นเมื่อขนาดการเปิดประเทศมากขึ้น
ผลกระทบเชิงโครงสร้่างระหว่างความสัมพันธ์ของช่องว่างเงินเฟ้อ และช่องว่างผลผลิต เนื่องมาจากสาเหตุดังต่อไปนี้
(๑.) การค้า และการลงทุนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น และความชำนาญเฉพาะทาง ส่งผลดังนี้
(๑.๑) ลดการตอบสนองของเงินเฟ้อต่อช่องว่างผลผลิตในประเทศ
(๑.๒) เพิ่มการตอบสนองต่อระดับดุลยภาพจากอุปสงค์ และอุปทานนอกประเทศ
ข้อสรุปนี้ยืนยันได้จากการศึกษาเชิงประจักษ์ ของ BIS โดย Borio และ Filardo
(๒.) การแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากประเทศที่มีความเหลือเฟือของแรงงาน ไปลดการตอบสนองต่อวัฏจักรส่วนต่างกำไร อันเนื่องมาจากธุรกิจมีบทบาทน้อยลงในการเข้าไปแทรกแซง คือ สามารถเพิ่มราคาเมื่ออุปสงค์ภายในประเทศเพิ่มขึ้น
(๓.) ต้นทุนการผลิตมีการตอบสนองต่อวัฏจักรธุรกิจน้อยลง เห็นได้จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีการย้ายการผลิตไปยังจีน อินเดีย และยุโรปตะวันออก ทำให้แรงงานเห็นว่าไม่มีประโยชน์อันใดในการเรียกร้องเพิ่มค่าจ้างในขณะที่การว่างงานลดลง หรือกล่าวได้ว่าจำกัดผลกระทบที่เกิดจากต้นทุนแรงงานหน่วยสุดท้าย เมื่อมีการผลิตเพิ่มขึ้น
(๔.) การอพยพแรงงาน ในปี ค.ศ. ๑๙๙๗ สองในสามของแรงงานที่เพิ่มขึ้นมาจากการอพยพ ขนาดของการอพยพจะสะท้อนส่วนต่างของค่าจ้างระหว่างประเทศ ในปัจจุบันธุรกิจมีแนวโน้มที่สูงขึ้นในการใช้แรงงานจากต่างประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีความชำนาญเฉพาะทาง ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการพบว่า มันเป็นการยากในการหาแรงงานเพิ่ม แทนที่จะเพิ่มค่าจ้างเพื่อจ้างแรงงานนั้นจากบริษัทอื่น เราสามารถนำแรงงานจากต่างประเทศมาใช้แทน
ข้อสังเกต การเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิต และต้นทุนแรงงานลดลง
ในบางครั้งผลจากโลกาภิวัฒน์อาจก่อให้เกิดผลในทางตรงข้าม คือ ด้วยแรงกดดันจากสภาวะการแข่งขันที่สูงในโลกปัจจุบันนี้ อาจหมายถึงกำไรที่จะต้องสูญเสียไปจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการกำหนดราคาที่ผิดพลาด ทำให้ธุรกิจนั้นต้องมีการปรับราคาที่ดีมาก ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างเงินเฟ้อและช่องว่างผลผลิตเป็นไปในลักษณะที่ชันมากขึ้น
จากการทำแบบสอบถามโดยหน่วยงานของสหภาพยุโรปไปยังบริษัทต่างๆ เพื่อดูรูปแบบการ เปลี่ยนแปลงราคาสินค้าโดยแยกเป็นหมวดต่างๆ พบว่า มีแนวโน้มในการเพิ่มขึ้นของความถี่ในการเปลี่ยนแปลงราคาสินค้าในทุกหมวด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดที่ได้รับผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์มากที่สุด การเพิ่มขึ้นของความถี่ในการเปลี่ยนแปลงของราคาในธุรกิจค้าปลีกเป็นตัวอย่างที่สะท้อนถึงภาวะการแข่งขันที่สูงมาก จนเรียกว่า “Tesco Effect” เป็นผลมาจากการพัฒนาเทคโนโลยีจนสามารถตั้งราคาที่ได้เปรียบในการแข่งขันโดยง่ายมาก
ที่ผ่านมาเป็นการอธิบายถึงผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ต่อการตอบสนองภาวะเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ สำคัญยิ่งกว่านั้นโลกาภิวัฒน์ได้เปลี่ยนกระบวนการตอบสนองของภาวะเงินเฟ้อด้านอุปทาน เห็นได้ชัดจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ เท่า ภายในเวลาเกือบสองปี ซึ่งถ้าเป็นในอดีตแล้วอาจมีความกังวลที่จะนำไปสู่ “ภาวะเวินเฟ้อรุนแรง” (Inflationary) แต่ด้วยผลจากโลกาภิวัฒน์ทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง ขณะที่ภาคการผลิตมีการพึ่งพาน้ำมันน้อยลงเหลือ ๑ ใน ๒ ของทศวรรษที่ ๗๐ แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นเพื่อที่จะรักษาอำนาจซื้อของรายได้ให้คงเดิม
จากเหตุการณ์พบว่า ค่าจ้างมีระดับคงที่เป็นเวลานาน ไม่มีการขึ้นค่าจ้างเลยในหลายปีที่ผ่านมา เนื่องจากดัชนีราคาได้เพิ่มสูงขึ้นในเวลานั้น อัตราการเปลี่ยนแปลงของอำนาจซื้อของค่าจ้างชะลอตัวเนื่องด้วยเหตุ ดังนี้
๑.) อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. ๒๐๐๕ (ไม่มีนัยสำคัญในการกำหนด)
๒.) ภาวะการกดดันอันเนื่องมาจากการแข่งขันที่สูงยังส่งผลกระทบไปยังกระบวนการปรับขึ้นของต้นทุนพลังงานในภาคธุรกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วจะส่งผลกระทบให้ต้นทุนพลังงานปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้า และบริการที่ได้รับผลกระทบปรับตัวเพิ่มขึ้น ในทางกลับกัน พบว่า ภาคธุกิจพยายามหาช่องทางในการลดต้นทุน อาทิ การลดค่าจ้าง การลดราคาสินค้าขั้นกลาง หรือการเพิ่มประสิทธิภาพ จากแบบสอบถามภาคธุรกิจของบริษัททั่วโลก พบว่า น้อยบริษัทที่จะขึ้นราคา ในทางกลับกันพยายามที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ ลดการจ้างงาน ลดค่าจ้าง และลดต้นทุนอื่นๆ ผลลัพธ์ที่ตามมาจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปได้ว่ายังอีกห่างไกลที่จะส่งผลให้ค่าจ้างเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้น
จากทั้งหมดนี้สามารถสรุปได้ว่า เงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลง อันเนื่องมาจากอิทธิพลของโลกาภิวัฒน์ส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ดังนี้
๑.) การลดลงของการส่งผ่านต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นไปยังค่าจ้าง และราคาสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นข่าวดีสำหรับธนาคารกลาง แต่ความสัมพันธ์ระหว่างช่องว่างเงินเฟ้อ และช่องว่างผลผลิตมีแนวโน้มลาดลงมากขึ้น นั่นสามารถตีความได้ว่า หลายๆสิ่งจะดีขึ้น คือ ไม่ว่าจะเป็นช็อคจากอุปสงค์ หรือความผิดพลาดของการดำเนินนโยบาย ไม่ส่งผลให้เกิดความผันผวนของเงินเฟ้อจนออกนอกระดับเป้าหมาย
๒.) การเปลี่ยนแปลงของระดับอุปสงค์รวมมีความสำคัญน้อยลงในการกำหนดเงินเฟ้อ
๓.) โลกาภิวัฒน์จะชักจูงการดำเนินนโยบายทางการเงิน โดยให้ความสำคัญมากขึ้นในการลดเงินเฟ้อ โดยยอมเสียต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เกิดขึ้นจากส่วนต่างผลผลิตที่มากขึ้นสามารถยืนยันได้จากการพิสูจน์โดยการเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์ถ่วงน้ำหนักของส่วนต่างผลผลิต ภายใต้เงื่อนไขของระดับการเปิดประเทศที่แตกต่างกัน ในสมการการสูญเสียที่ได้จากสมการสวัสดิการสังคมบนพื้นฐานอรรถประโยชน์ส่วนบุคคล พบว่ายิ่งมีการเปิดประเทศมากขึ้นขนาดของสัมประสิทธิ์ถ่วงน้ำหนักของส่วนต่างผลผลิตยิ่งลดลง
ดังนั้น ถ้าหากเงินเฟ้ออยู่เหนือระดับเงินเฟ้อเป้าหมายแล้ว นั่นหมายถึง การลดลงของระดับเงินเฟ้อจะนำมาสู่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และยาวนาน ดังนั้นยิ่งทำให้มี Premium มากขึ้นในการรักษาให้ความคาดหวังเงินเฟ้ออยู่ที่ระดับเป้าหมาย อย่างที่ทราบกันดีแล้วว่า เรารู้น้อยมากในรูปแบบการสร้างความคาดหวังของผู้บริโภค ทางที่ดีที่สุดขั้นแรก คือ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และความสำคัญอย่างมากในการดูแล เฝ้าระวังสัญญาณเงินเฟ้อ ทั้งในตลาดสินค้า บริการ และตลาดแรงงาน

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ/ครับ

พิ้นหลัง